อะไรคือระบบ Industry 4.0 รู้ทันการเปลี่ยนแปลงในก้าวใหม่!

30

โลกหมุนเร็วฉันใด ความก้าวหน้าของมวลมนุษย์ก็ไปไวฉันนั้น วลีที่ไม่ได้มีใครคิดขึ้นมาแต่มันคือความเป็นจริงที่แวดวงธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างต้องประสบพบเจอกันในช่วงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับระบบ Industry 4.0

ระบบ Industry 4.0

ทำความรู้จักกับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อโลกเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนอย่างยุคดิจิทัลที่ทุกการทำธุรกิจนั้นไร้พรมแดน แถมยังมีข้อจำกัดน้อยลงกว่าที่เคย ด้วยการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือเรารู้จักกันในนามของระบบ Industry 4.0 โดยบทความนี้จะมาเจาะลึกให้รู้จักกันแบบชัดเจนแจ่มแจ้ง ถึงเบื้องหลัง ที่มา และจุดเด่นของระบบดังกล่าว

ทำความรู้จักกับระบบอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0)

รู้หรือไม่ว่ากว่าจะมาเป็นระบบอุตสาหกรรมที่เราคุ้นเคยกันในยุคปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้ถูกปรับเปลี่ยนและพัฒนามากกว่า 3 ครั้ง และในตอนนี้ก็เดินทางมาสู่การปฏิวัติครั้งใหม่ โดยถูกขนาดนามว่าเป็นระบบอุตสาหกรรมแบบ Industry 4.0 นั่นเอง

โดยระบบดังกล่าว เกิดจากบูรณาการโลกของการผลิตให้เชื่อมเข้ากับเครือข่ายในรูปแบบของ “Internet of Things (IoT)” ที่จะทำให้ทุกองค์ประกอบในอุตสาหกรรมตั้งแต่วัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ ตลอดจนระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์หน่วยต่าง ๆ ถูกเข้าถึงได้อย่างง่ายดายและรัดกุม ภายใต้การติดตั้งระบบเครือข่ายที่ใช้ร่วมกัน ส่งผลให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในได้อย่างอิสระนั่นเอง

จุดเด่นของระบบ Industry 4.0 ที่ควรรู้

ในส่วนของจุดเด่นของระบบอุตสาหกรรมการปฏิวัติครั้งที่ 4 (Industry 4.0) คือการควบคุมและประสิทธิภาพการเข้าถึงที่รวดเร็วของพนักงานและเครื่องจักร ด้วยการเชื่อมโยงผ่านตัวกลางอย่างสังคมเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้สามารถแชร์ข้อมูลข่าวสาร และรายงานผลต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ ลดข้อบกพร่องจากการทำงานของทรัพยากรมนุษย์ พร้อมเพิ่มความปลอดภัย อีกทั้งยังทำให้เครื่องจักร โรบอต สามารถทำงานได้อย่างเสถียร แม่นยำ

ตัวอย่างการใช้งานในระบบโรงงานอัจฉริยะ รับ Industry 4.0

โดยส่วนมากการปรับตัวของอุตสาหกรรมรับยุคดิจิทัลแบบ Industry 4.0 มักจะมองเห็นการเริ่มต้นที่ชัดที่สุดมาจากโรงงานต่าง ๆ ที่ปรับเปลี่ยนระบบการทำงานให้ทันสมัย มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มากขึ้น ทั้งการติดตั้งเครือข่าย เพื่อเปลี่ยนเป็นระบบ Internet of Things (IoT) ตลอดจนการนำหุ่นยนต์ร่วมทำงานมาใช้ เพื่อลดทรัพยากรมนุษย์ พร้อมรักษาคุณภาพและความเสถียรในการทำงานเอาไว้ให้ได้ตามมาตรฐาน ในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ไปในตัวอีกด้วย

สรุปแล้วการมาถึงของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นั้นถือเป็นระลอกการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่ส่งผลเป็นอย่างมากทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างรากฐานที่ดีแล้ว ยังทำให้ผู้ประกอบการแต่ละรายเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนา หมดเวลาที่ก้าวตามหลังคู่แข่ง พร้อมเปิดใจในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกันอย่างเต็มตัว